มีเวลาว่างมาก เพราะไม่ได้เล่น fb แล้ว :p
ขอจัดเต็มกะไอเรื่องนี้สักที เอาให้จบๆไป
นอกจากนักวิ่งสายเทรล ผมเชื่อว่ามีประโยชน์กับเด็กที่กำลังเรียนเลขด้วย
ม่ะ ถ้าว่าง ก็ตามมา
อ้อ เลเวล ระดับเริ่มต้นนะครับ แบบพื้นฐานกันสุดๆ
ดูภาพนะครับ
ณ เทือกเขา ABC ที่มีจุดสูงสุด ทียอด B
ขอตั้งชื่อดีกว่า ณ เทือกเขาบูโด
การข้ามเขา จาก จุดA ไปถึง จุดC โดยการปีนขึ้นยอด แล้วไหลลง
gps บนนาฬิกาเรา จะบอกว่า เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร
มันจับระยะตามแนวตรงจาก a ถึง c เลย
แม้จริงๆเราจะขึ้นไปตามแนวเอียง และลงมาตามแนวราบ
ซึ่งเห็นอยู่ชัดๆ ว่า ไม่น่าใช่ 60 กิโลเมตร ต้องมากกว่าแน่ๆ
แต่ นาฬิกาเรา มันจะยืนยันว่า 60
เอ้า งี้วิ่งจริง ก็ไกลกว่าที่ gps บอกสิ?!!
แหงครับ แน่นอนครับ ชัวร์
เรื่องแรกที่ต้องรู้เลย..คือ
เวลาวิ่งเทรลขึ้นเขา
เราจะวิ่ง"ไกลกว่า"ระยะที่นาฬิกาบนข้อมือบอกเรา
แต่ อย่าตกใจครับ เราไม่รู้หรอก 55 นาฬิกามันบอกก็เชื่อๆมันไปเถอะ ^^
จริงๆ ที่บอกว่าอย่าตกใจ เพระ ความคลาดเคลื่อนมันนิดเดียวครับ
รายการเทรลในเมืองไทย ระยะ 100 km ไม่ว่ารายการใดๆผมค่อนข้างเชื่อว่า คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2 km
(นี่หมายถึงการไม่ตรงกัน ของการวิ่งเรา กะนาฬิกาเรานะ)
เราตกลงกันในไอเดียนี้ก่อนนะ ระยะทางที่บอกบนนาฬิกาเรา วัดตามแนวพื้นราบ
มันจะไม่สนว่าเราจะไปขึ้นมากี่ยอดแล้ว
*** อันนี้อธิบายอย่างง่ายนะครับ อย่าไปขุดเรื่อง geoid high มาถกเด็ดขาด ***
ทีนี้ สมมุติว่า...นี่คือสนามเทรล บูโดอัลตร้า
สตาร์ทที่ A จบที่ C (ตามภาพ)
ระยะ 60 กิโลเมตร
แต่... มันต้องข้ามเขานี่สิ
ภูเขา B สูง 1000 เมตร
มีข้อมูลสนาม สองข้อมูล ล่ะนะครับ
หนึ่ง ความไกล
(หน่วยมักเป็น ไมล์ หรือ กิโลเมตร)
สอง ความสูง
(หน่วยมักเป็น ฟุต หรือเป็น เมตร)
อันที่สองนี่ล่ะครับ เรานับเป็น Elevation gain ได้เลย
เพราะมีขึ้นอยู่แค่นั้น ขึ้นแล้วลง แล้วจบเลย
เอ้า แล้วซ้อมไงเนี่ย?
เวลาจะวางแผนซ้อม
สิ่งที่ควรทำ คือ ต้องหาข้อมูลตัวที่สามมาให้ได้
ข้อมูลตัวที่สาม คือความยากในการขึ้นที่สูงครับ
ศัพท์ทางเทคนิค เราเรียกว่า ความชัน
นิยามง่ายๆสำหรับชาวเทรล
ความชัน คือ ความยากในการขึ้นที่สูง
ที่เรียกว่าศัพท์เทคนิค เพราะ ความชัน สามารถบอกเป็นตัวเลข เพื่อใช้เปรียบเทียบ ระหว่างความยากในการไต่ขึ้นพื้นที่ต่างๆกัน
มีสูตรง่ายๆครับ
ความชัน = ความสูง ÷ ระยะแนวราบ
ดูข้อมูล บูโดอัลตร้า สนามนี้ครับ
ระยะจาก a ถึง b 40 กิโลเมตร หรือ 40,000 เมตร
(นับแนวระดับ จากเริ่มต้น ถึงจุดสูงสุด)
ความสูงของจุด b 1000 เมตร
ความชันของสนามนี้ คือ (1,000m)÷(40,000m)
= 0.025
สังเกตตรงนี้ดีๆนะครับ
ตัวเลขของความชัน ไม่มีหน่วย
เพราะ เมตร กับเมตร มันฆ่ากันตายไปตั้งแต่ตอนหารกันแล้ว
แต่ ถามกงๆ เจอเลข 0.025 มีใครชอบบ้าง ใช้ยากจะตาย
คณิตศาสตร์มีวิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายครับ
จับคูณร้อยไปเล้ย
จาก 0.025
กลายเป็น 2.5
และเรียกมันใหม่ว่า เปอร์เซนต์ความชัน
สนามนี้ เราต้องสู้กับ ความชัน 2.5 เปอร์เซนต์
มีตัวเลขเอาไปปรับตั้งลู่วิ่งแล้วใช่ไหมครับ
ว่า..ควรตั้งความชันสักเท่าไหร่ดี :)
ทีนี้
ถ้าปีหน้า บูโดอัลตร้า เกิดอยาก reverse route
วิ่งจาก C ไปจบที่ A ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น มี่อะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
ระยะทาง เท่าเดิม
elevation gain(ความสูงนั่นล่ะ) เท่าเดิม
ข้อมูลสองข้อมูลนี้ ไม่เปลี่ยนครับ ถึงจะวิ่งย้อนกลับก็ตาม
แต่...
เมื่อการวิ่งขึ้นยอดเขา เปลี่ยนทิศ!!
ระยะทางกลายเป็น 20 km ถึง ยอดเขา
ความสูงยอดเขายังเป็น 1000 เมตร เท่าเดิม
ความชัน = (1,000m)÷(20,000m)
= 0.05
คูณร้อยไง จำได้มั้ย ^^
ความชัน 5%
ต้องเปลี่ยนแผนการซ้อมนะครับ ;)
ย้ำอีกครั้ง
ความชัน = ความสูง ÷ ระยะแนวราบ
ถ้าเข้าใจตรงนี้ เราก็จะไม่เอา ความสูงกับความชันมาปนกัน
ความสูง ไม่ใช่ความชัน
เป็นสองคำที่ความหมายต่างกัน
จำให้แม่นๆ
ขอจัดเต็มกะไอเรื่องนี้สักที เอาให้จบๆไป
นอกจากนักวิ่งสายเทรล ผมเชื่อว่ามีประโยชน์กับเด็กที่กำลังเรียนเลขด้วย
ม่ะ ถ้าว่าง ก็ตามมา
อ้อ เลเวล ระดับเริ่มต้นนะครับ แบบพื้นฐานกันสุดๆ
ดูภาพนะครับ
ณ เทือกเขา ABC ที่มีจุดสูงสุด ทียอด B
ขอตั้งชื่อดีกว่า ณ เทือกเขาบูโด
การข้ามเขา จาก จุดA ไปถึง จุดC โดยการปีนขึ้นยอด แล้วไหลลง
gps บนนาฬิกาเรา จะบอกว่า เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร
มันจับระยะตามแนวตรงจาก a ถึง c เลย
แม้จริงๆเราจะขึ้นไปตามแนวเอียง และลงมาตามแนวราบ
ซึ่งเห็นอยู่ชัดๆ ว่า ไม่น่าใช่ 60 กิโลเมตร ต้องมากกว่าแน่ๆ
แต่ นาฬิกาเรา มันจะยืนยันว่า 60
เอ้า งี้วิ่งจริง ก็ไกลกว่าที่ gps บอกสิ?!!
แหงครับ แน่นอนครับ ชัวร์
เรื่องแรกที่ต้องรู้เลย..คือ
เวลาวิ่งเทรลขึ้นเขา
เราจะวิ่ง"ไกลกว่า"ระยะที่นาฬิกาบนข้อมือบอกเรา
แต่ อย่าตกใจครับ เราไม่รู้หรอก 55 นาฬิกามันบอกก็เชื่อๆมันไปเถอะ ^^
จริงๆ ที่บอกว่าอย่าตกใจ เพระ ความคลาดเคลื่อนมันนิดเดียวครับ
รายการเทรลในเมืองไทย ระยะ 100 km ไม่ว่ารายการใดๆผมค่อนข้างเชื่อว่า คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2 km
(นี่หมายถึงการไม่ตรงกัน ของการวิ่งเรา กะนาฬิกาเรานะ)
เราตกลงกันในไอเดียนี้ก่อนนะ ระยะทางที่บอกบนนาฬิกาเรา วัดตามแนวพื้นราบ
มันจะไม่สนว่าเราจะไปขึ้นมากี่ยอดแล้ว
*** อันนี้อธิบายอย่างง่ายนะครับ อย่าไปขุดเรื่อง geoid high มาถกเด็ดขาด ***
ทีนี้ สมมุติว่า...นี่คือสนามเทรล บูโดอัลตร้า
สตาร์ทที่ A จบที่ C (ตามภาพ)
ระยะ 60 กิโลเมตร
แต่... มันต้องข้ามเขานี่สิ
ภูเขา B สูง 1000 เมตร
มีข้อมูลสนาม สองข้อมูล ล่ะนะครับ
หนึ่ง ความไกล
(หน่วยมักเป็น ไมล์ หรือ กิโลเมตร)
สอง ความสูง
(หน่วยมักเป็น ฟุต หรือเป็น เมตร)
อันที่สองนี่ล่ะครับ เรานับเป็น Elevation gain ได้เลย
เพราะมีขึ้นอยู่แค่นั้น ขึ้นแล้วลง แล้วจบเลย
เอ้า แล้วซ้อมไงเนี่ย?
เวลาจะวางแผนซ้อม
สิ่งที่ควรทำ คือ ต้องหาข้อมูลตัวที่สามมาให้ได้
ข้อมูลตัวที่สาม คือความยากในการขึ้นที่สูงครับ
ศัพท์ทางเทคนิค เราเรียกว่า ความชัน
นิยามง่ายๆสำหรับชาวเทรล
ความชัน คือ ความยากในการขึ้นที่สูง
ที่เรียกว่าศัพท์เทคนิค เพราะ ความชัน สามารถบอกเป็นตัวเลข เพื่อใช้เปรียบเทียบ ระหว่างความยากในการไต่ขึ้นพื้นที่ต่างๆกัน
มีสูตรง่ายๆครับ
ความชัน = ความสูง ÷ ระยะแนวราบ
ดูข้อมูล บูโดอัลตร้า สนามนี้ครับ
ระยะจาก a ถึง b 40 กิโลเมตร หรือ 40,000 เมตร
(นับแนวระดับ จากเริ่มต้น ถึงจุดสูงสุด)
ความสูงของจุด b 1000 เมตร
ความชันของสนามนี้ คือ (1,000m)÷(40,000m)
= 0.025
สังเกตตรงนี้ดีๆนะครับ
ตัวเลขของความชัน ไม่มีหน่วย
เพราะ เมตร กับเมตร มันฆ่ากันตายไปตั้งแต่ตอนหารกันแล้ว
แต่ ถามกงๆ เจอเลข 0.025 มีใครชอบบ้าง ใช้ยากจะตาย
คณิตศาสตร์มีวิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายครับ
จับคูณร้อยไปเล้ย
จาก 0.025
กลายเป็น 2.5
และเรียกมันใหม่ว่า เปอร์เซนต์ความชัน
สนามนี้ เราต้องสู้กับ ความชัน 2.5 เปอร์เซนต์
มีตัวเลขเอาไปปรับตั้งลู่วิ่งแล้วใช่ไหมครับ
ว่า..ควรตั้งความชันสักเท่าไหร่ดี :)
ทีนี้
ถ้าปีหน้า บูโดอัลตร้า เกิดอยาก reverse route
วิ่งจาก C ไปจบที่ A ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น มี่อะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
ระยะทาง เท่าเดิม
elevation gain(ความสูงนั่นล่ะ) เท่าเดิม
ข้อมูลสองข้อมูลนี้ ไม่เปลี่ยนครับ ถึงจะวิ่งย้อนกลับก็ตาม
แต่...
เมื่อการวิ่งขึ้นยอดเขา เปลี่ยนทิศ!!
ระยะทางกลายเป็น 20 km ถึง ยอดเขา
ความสูงยอดเขายังเป็น 1000 เมตร เท่าเดิม
ความชัน = (1,000m)÷(20,000m)
= 0.05
คูณร้อยไง จำได้มั้ย ^^
ความชัน 5%
ต้องเปลี่ยนแผนการซ้อมนะครับ ;)
ย้ำอีกครั้ง
ความชัน = ความสูง ÷ ระยะแนวราบ
ถ้าเข้าใจตรงนี้ เราก็จะไม่เอา ความสูงกับความชันมาปนกัน
ความสูง ไม่ใช่ความชัน
เป็นสองคำที่ความหมายต่างกัน
จำให้แม่นๆ
เยี่ยมเบยยยยค่าา
ReplyDeleteขอบคุณครับ
DeleteThis comment has been removed by the author.
ReplyDeleteGPS มันจับระยะตามแนวตรงจาก a ถึง b เลย... ไม่ใช่ a ถึงc เหรอคะ งง @_@
ReplyDeleteโอ้ย พิมพ์ผิด ขอบคุณค่า
Delete