Skip to main content

Gain ภาคสอง

มีเพื่อนถามมา เรื่อง #ความชัน

(มีคนถามจริงจริ๊งงง ^__^; )

ดูภาพครับ



ภาพนี้ก็แอบเอาของเกาะช้าง ระยะ 35k มา
ขออภัย”ทีละก้าว”ที่ไม่ได้บอกกล่าว
(เช่นเดิม ผมไม่เกี่ยวอะไรด้วย ไปวิ่งก็ไม่ได้ไป)

ที่กิโลเมตร 31-32 (ที่ทำขีดม่วงๆไว้)

ระยะทางแนวราบ 1 km หรือ 1000 เมตร เลขกลมๆ

ความสูงล่ะ?
ไต่จาก 75 เมตร ถึง 225 เมตร จับลบกัน จะได้ความสูงที่เราขึ้นจริง

เราขึ้นสูง 150 m

แล้ว..ชันมั้ย?!!
นั่นสิ ^___^

เอา #ความสูงหารด้วยระยะแนวราบ

นี่ล่ะครับ วิธีที่เราใช้บอกความชันด้วยตัวเลข

กรณีนี้ (ความสูง 150) ÷ (แนวราบ 1000) = 0.15

#ความชัน 0.15

จะเอาไปคุยเล่นกันดีมั้ยครั

“เฮ้ย นี่นะ กรูไปไต่เขามาเว้ย ชันตั้ง 0.15”

ลุงว่าไม่มีใครคุยด้วยหรอก เพื่อนเดินหนีหมด เลขมันดิบไป

มีวิธีที่ทำให้ soft ครับ
จับความชัน คูณด้วย 100 ดื้อๆเลย

แล้วเรียกมันว่า.... #เปอร์เซนต์ความชัน

กรณีของเรา 0.15×100 = 15

เอาไปคุยโม้ได้แล้วครับ

“เฮ้ย นี่นะ กรูไปวิ่งขึ้นเขามาเว้ย ชันตั้ง 15 เปอร์เซนต์ โคตรยาก เหนื่อยอะ แต่จบนะเว้ย “

ยาวเลยทีนี้

คนฟัง แปลไม่ออกเหมือนเดิมแหละครับ ;p
แต่มันดูมีเทคนิคอลเทอมเท่ๆ ตัวเลขหลักสิบฟังง่ายๆ

อาจดูเหมือนเก่งได้ ด้วยวิธีง่ายๆ ^^

เทียบเป็นองศาล่ะ?!
ไม่บอกวิธีหานะ สรุปให้เลยว่า 8.5 องศา

ดูสามตัวเลขนี้นะครับ

ความชัน 0.15

ความชัน 15%

ความชัน 8.5 องศา

มันคือความยากเดียวกัน

#จะคุยกันก็เลือกสักระบบ ไม่งั้นงงตาย

ยากแค่ไหน?
ก็.....

#ประมาณเขาแหลม :p

เดี๋ยวๆๆๆๆ อย่าเพิ่งประกาศขาย bib

ใจเย็นๆ

ถึงจะชันพอกัน แต่ระยะทางสั้นกว่าถึงสี่เท่าครับ
แป๊ปๆก็ถึงแล้ว

ถ้าเป็นลุง พอไปถึงกม.31 นี่นะ จะปรับนาฬิกาให้บอกความสูง

แล้วค่อยๆขึ้นทีละ 30 เมตร

5 ครั้งก็ถึงยอดแล้ว ^____^

พูดง่ายสิ ก็ไม่ได้ไปนี่

จบข่าว
.
.
.
หมายเหตุ

หลายท่านฝึกกะบันได
ความชันบันไดบ้านนี่ ถ้าจำไม่ผิด ราวๆ 30-37 องศาครับ
แต่มันเป็นบันไดไง วางเท้าง่าย

ถ้าเป็นเทรลทางดินทางหิน แล้วชันเท่าบันไดบ้าน อุทานได้สั้นๆครับ “บรรลัยละ”

หมายเหตุสอง
นี่เป็นค่าเฉลี่ยนะครับ เขาแหลมบางช่วงอาจถึง 25%

ที่เกาะช้างจุดที่ยกตัวอย่างก็ไม่น่าต่างกันมาก และทั้งหลายทั้งปวงคือใช้ภาพมาคำนวณ

จบจริงล่ะครับ

Comments

Popular posts from this blog

Gain กับ การเลือกเทรล

เกนๆๆ พูดอะไรกัน?!! #เทรลทัวริ่ง ชวนคุย สำหรับมือใหม่ที่มาจากทางเร ียบ เนื่องจาก ฤดูกาลรับสมัครแย่งชิงตัวนั กวิ่งเทรลกำลังเริ่มขึ้น (เข้าใจว่า จริงๆเริ่มแล้ว) นอกจากเรื่องค่าสมัครแล้ว ;p ข้อมูลนึงที่นักวิ่งควรจะนำ มาพิจารณาประกอบสมัคร คือ ค่า gain นี่ล่ะ ก็ขนาด i-tra ยังเอามาเป็น index ของระดับคะแนนเลยว่า.. ระยะทาง + (gain/100) คือตัวเลขที่นำมาพิจารณาให้ คะแนนของ race นั้นๆ บางท่านก็อาจฟันธงเลย “นี่ล่ะ ค่าความเหนื่อย” เช่น ระยะ 77 km gain 4000 = 77+ (4000/100) = 117 อ๋อออออ เหนื่อยพอๆกะวิ่ง 117 กิโลเมตร จะเอามาใช้แบบนี้ก็ไม่ผิดอะ ไร แต่อาจไม่ตรงความหมายเดิมเป ๊ะๆเท่านั้นเอง ลองดูตัวอย่างจากภาพครับ Note:: ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกั บผู้จัด cm6 นะครับ แจงไว้ก่อน แถมเอาภาพมานี่ก็ไม่ได้ขออน ุญาต แฮร่!! ดูภาพๆ จาก จุดสตาร์ท ไป hq1 เอาความสูงทั้งสองจุด จับมาลบกัน 1350 - 331 = 1019 Gain ช่วงนี่คือ 1019 เมตรครับ นับแบบนี้เลยรึ?!! ครับ นับประมาณๆเอา เพราะทางขึ้นช่วงนี้ แทบไม่มีทางลงเลย(มีบ้างล่ะ แต่ไม่เป็นนัยะ) ทีนี้ดูระยะทางนะครับ 10 km ...

สูงและชัน 102 Elevation gain

จาก สูงและชัน 101 เราคุยกันเรื่อง ความสูง และความชันเบื้องต้นกันไปแล้ว คราวนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่อง.... Elevation gain ความสูงสะสมรวมของทั้งเรซ มาดูกัน ว่า"สะสม"กันแบบไหน ดูภาพกันเลย รายการวิ่ง ปาโจเทรล(นามสมมุติ) ระยะ 40 กิโลเมตร ยอดเขายอดที่สูงที่สุด สูง 1500 เมตร เทียบกับจุดสตาร์ท เรซนี้นี้ มีค่าเกน 2000 เมตรครับ นับยังไง? ภูเขาลูกแรก  ไต่ขึ้นสูง 1000 เมตร  ไต่ถึงยอดแล้ว ทดไว้ในใจ ^^ ตอน down hill  ระวังดีๆ อย่าสะดุดรากไม้ เดี๋ยวไอที่ทดไว้หาย ขึ้นลูกที่สอง ไต่ขึ้นอีก 1000 เมตร เอามารวมกับที่ทดไว้ในใจ 1000+1000 ครับ นับแต่เฉพาะความสูงที่เราต้องไต่ขึ้น มารวมๆกัน ความสูงที่สะสมทั้งหมด รวมกันได้ 2000 เมตร ด้วยวิธีคิดแบบนี้ เราจึงเรียกว่า Elevation gain ความสูงสะสม สรุปแบบพูดสั้นๆ ไทยสไตล์ ปาโจเทรล 40k gain 2000 m คราวนี้มาดูอีกเรซ ทรายขาวเทรล(นามสมมุติเช่นกัน ^^) ทรายขาวเทรล 40k เช่นกัน ดูออกไหมครับ ว่า เกน เท่าไร ขึ้นเขา 4 ครั้ง ครั้งละ 500 เมตร ครับ!!! ทรายขาวเทรล 40k   เกน ก็ 2000 เมตรเช่นกัน ...

สูงและชัน 101

มีเวลาว่างมาก เพราะไม่ได้เล่น fb แล้ว :p ขอจัดเต็มกะไอเรื่องนี้สักที  เอาให้จบๆไป นอกจากนักวิ่งสายเทรล  ผมเชื่อว่ามีประโยชน์กับเด็กที่กำลังเรียนเลขด้วย ม่ะ  ถ้าว่าง ก็ตามมา อ้อ เลเวล ระดับเริ่มต้นนะครับ  แบบพื้นฐานกันสุดๆ ดูภาพนะครับ ณ เทือกเขา ABC  ที่มีจุดสูงสุด ทียอด B ขอตั้งชื่อดีกว่า  ณ เทือกเขาบูโด การข้ามเขา จาก จุดA ไปถึง จุดC  โดยการปีนขึ้นยอด แล้วไหลลง gps บนนาฬิกาเรา จะบอกว่า เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร  มันจับระยะตามแนวตรงจาก a ถึง c เลย แม้จริงๆเราจะขึ้นไปตามแนวเอียง และลงมาตามแนวราบ ซึ่งเห็นอยู่ชัดๆ ว่า ไม่น่าใช่ 60 กิโลเมตร ต้องมากกว่าแน่ๆ แต่ นาฬิกาเรา มันจะยืนยันว่า 60 เอ้า งี้วิ่งจริง ก็ไกลกว่าที่ gps บอกสิ?!! แหงครับ  แน่นอนครับ ชัวร์ เรื่องแรกที่ต้องรู้เลย..คือ เวลาวิ่งเทรลขึ้นเขา  เราจะวิ่ง"ไกลกว่า"ระยะที่นาฬิกาบนข้อมือบอกเรา แต่  อย่าตกใจครับ เราไม่รู้หรอก 55 นาฬิกามันบอกก็เชื่อๆมันไปเถอะ ^^ จริงๆ ที่บอกว่าอย่าตกใจ เพระ ความคลาดเคลื่อนมันนิดเดียวครับ รายการเทรลในเมืองไทย...