สปอล์ยตะนาวศรีเทรล
เตือนกันตั้งแต่แรกเลย สปอล์ยนะครับ
ใครที่มีแนวคิดว่า ถ้ารู้ข้อมูลก่อน แล้ววิ่งไม่สนุก ไม่ตื่นเต้น กรุณาปิดหน้านี้ไปเลยครับ
ผมเคยรีวิวไว้ครั้งนึงแล้วที่
http://trail-touring.blogspot.com/2018/01/blog-post_65.html
คราวนี้ เป็นตัวเลขล้วนๆ
เป็นภาคต่อจากตอน 101 และ 102 นะครับ
มีเขาสี่ลูก ที่ต้องต่อสู้
เขาลันดา, เขาเขียว, เขาแหลม, เนินอนันต์
** ข้อมูลเก็บมาจาก Suunto ambit3 peak
** ไม่เอา accuracy เกี่ยวข้อง
** สนใจเพียงเอาข้อมูลมาซ้อมตีความเท่านั้น
movescount มีของเล่นนี้ด้วย
ขึ้นเขาลันดาก่อน
ระยะทางในแนวราบ gps วัดได้ 1350 เมตร
ความสูง 477 - 186
= 291 เมตร
ความชัน = 291/1350 = 0.215
จำได้ใช่มั้ยครับ จับคูณร้อยไง ;)
เขาลันดา ชัน 22% โดยประมาณ!!
หลายคนที่ผ่านตรงนี้ คงเอามือทาบอก คุณพระ ถึงว่า!!!
ไอลู่วิ่งไฟฟ้าที่ฟิตเนส ที่บ้าน ตั้งความชันได้แค่ 15%
นี่ 22%
เอาไงดีพวกเรา?!!
เอ้าไปต่อ ลงน้ำตก เฉี่ยวบ่อคลึง ขึ้นเขาเขียว
เดาว่าเริ่มหาคล่องกันแล้ว
ตรงนี้ ความชัน (850-190)/3160 = 0.21
21% โดยประมาณ สำหรับเขาเขียว
เอ้า น้อยกว่าเขาลูกแรกนี่!!
ครับ น้อยกว่าเปอร์เซนต์นึง
แต่... ไต่ยาวกว่าถึง 2 กิโลเมตร!!
แล้วลง เพื่อไปขึ้น....เขาแหลม
มาครับ มาลุ้นกัน ว่าเขาแหลมจะเป็นไง
ดูรูปกันก่อน
ทางขึ้นเขาแหลม มีสองช่วง ตรงกลางจะมียึกยักเล็กๆ พอได้พักบ้าง
ช่วงแรก ระยะ 820 เมตร
ความชัน
(801-591)/820 = 0.26
26%
นั่น!!! ดุขนาดนี้!!
มันมีช่วงสั้นๆ พอได้พัก(รึ) แล้วจากนั้น
ขึ้นอีกช่วงนึง คือขึ้นยอดเขาแหลม
ช่วงนี้ระยะ 0.98 km
ความชัน
(1125-879)/980 = 0.25
25%
พอกัน -"-
คำว่าความชัน 25-26% หมายความว่า
เดินได้ระยะ 4 เมตรในแนวราบ จะได้ความสูงเพิ่ม 1 เมตร
นี่คือความชันเฉลี่ยของการขึ้นยอดเขาแหลม จากทางเขาเขียว
***สำหรับคนที่สนใจเรื่องระยะแนวเอียง ว่ามันจะมากกว่าแนวราบแค่ไหน
เปรียบเทียบได้จากสูตรนี้ตรงๆครับ
sec(arctan(0.25))*100 = 103%
มากกว่ากันแค่ 3% ครับ เมตรนึง ต่างกันแค่ 3 cm
ขึ้นถึงยอดเขาแหลม เซลฟี่กันให้เต็มที่
แล้วไปต่อครับ
วิ่งลงไปหาน้ำแดง ข้าวขาหมูกัน
ตรงนี้ลาดเอียงลงเฉลี่ย 23% ย้ำนะครับ เฉลี่ย
แปลว่า บางที่มากกว่า บางที่น้อยกว่า
จากนั้น กลับมาไต่เนินอนันต์
ชัน 14% ด้วยระยะ 2.5 กิโลเมตร
ง่ายกว่าเพื่อนๆของมัน
แต่เราโดนเพื่อนๆมันนวดมาจนขาแข้งแทบไม่มีความรู้สึกแล้ว
เดินเป็นซอมบี้กันไป
และอย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากผ่านเขามาสี่ลูก
กึ่งรักกึ่งชังมันทุกเขาทุกยอด
แต่เห็นยึกๆสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัยไหมครับ
ตรงนั้นน่ะ คำอธิบายอยู่ในภาพ
20-25% คือค่าความชัน ของตะนาวศรีเทรล 30k
ระยะไต่ราวๆ 1-3 กิโลเมตร ในแต่ละช่วง
ซ้อมไงดี?!!
ซ้อมบันไดนั่นล่ะครับ
เพราะมาตรฐานบันได ผมเข้าใจว่าอยู่ที่ แถวๆ 30 กว่าองศา นั่นหมายถึงความชันไปอยู่แถวๆ 50%
แต่...
มันมีอีกตัวแปรครับ ที่ทำให้ การขึ้นเขาทางดิน ยากกว่าขึ้นบันได
คือการวางเท้าครับ
ด้วยความลาดเอียง มุมของเท้าที่วางลงไป จะดึงให้เอ็นร้อยหวายและน่องโดนดึงจนเหยียดกว่าทางราบ
จะไปตะนาวศรีเทรล ซ้อมเยอะๆครับ :)
ขอบคุณที่ตามอ่านกันจนมาถึงตรงนี้ (-/\-)
หากพบข้อมูลผิดพลาด พยายามหาทางส่งข่าวมาบอกหน่อยนะครับ จะได้แก้ไขให้ถูกต้อง ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ภาคสี่ ผมต้องหาอุปกรณ์บางอย่าง ขอใช้เวลาหาแพร็พ ;)
เตือนกันตั้งแต่แรกเลย สปอล์ยนะครับ
ใครที่มีแนวคิดว่า ถ้ารู้ข้อมูลก่อน แล้ววิ่งไม่สนุก ไม่ตื่นเต้น กรุณาปิดหน้านี้ไปเลยครับ
ผมเคยรีวิวไว้ครั้งนึงแล้วที่
http://trail-touring.blogspot.com/2018/01/blog-post_65.html
แต่รีวิวนั้นเป็นเรื่องอารมณ์เป็นหลัก
คราวนี้ เป็นตัวเลขล้วนๆ
เป็นภาคต่อจากตอน 101 และ 102 นะครับ
ตะนาวศรี 30k
มีเขาสี่ลูก ที่ต้องต่อสู้
เขาลันดา, เขาเขียว, เขาแหลม, เนินอนันต์
** ข้อมูลเก็บมาจาก Suunto ambit3 peak
** ไม่เอา accuracy เกี่ยวข้อง
** สนใจเพียงเอาข้อมูลมาซ้อมตีความเท่านั้น
movescount มีของเล่นนี้ด้วย
ขึ้นเขาลันดาก่อน
ระยะทางในแนวราบ gps วัดได้ 1350 เมตร
ความสูง 477 - 186
= 291 เมตร
ความชัน = 291/1350 = 0.215
จำได้ใช่มั้ยครับ จับคูณร้อยไง ;)
เขาลันดา ชัน 22% โดยประมาณ!!
หลายคนที่ผ่านตรงนี้ คงเอามือทาบอก คุณพระ ถึงว่า!!!
ไอลู่วิ่งไฟฟ้าที่ฟิตเนส ที่บ้าน ตั้งความชันได้แค่ 15%
นี่ 22%
เอาไงดีพวกเรา?!!
เอ้าไปต่อ ลงน้ำตก เฉี่ยวบ่อคลึง ขึ้นเขาเขียว
เดาว่าเริ่มหาคล่องกันแล้ว
ตรงนี้ ความชัน (850-190)/3160 = 0.21
21% โดยประมาณ สำหรับเขาเขียว
เอ้า น้อยกว่าเขาลูกแรกนี่!!
ครับ น้อยกว่าเปอร์เซนต์นึง
แต่... ไต่ยาวกว่าถึง 2 กิโลเมตร!!
แล้วลง เพื่อไปขึ้น....เขาแหลม
มาครับ มาลุ้นกัน ว่าเขาแหลมจะเป็นไง
ดูรูปกันก่อน
ทางขึ้นเขาแหลม มีสองช่วง ตรงกลางจะมียึกยักเล็กๆ พอได้พักบ้าง
ช่วงแรก ระยะ 820 เมตร
ความชัน
(801-591)/820 = 0.26
26%
นั่น!!! ดุขนาดนี้!!
มันมีช่วงสั้นๆ พอได้พัก(รึ) แล้วจากนั้น
ขึ้นอีกช่วงนึง คือขึ้นยอดเขาแหลม
ช่วงนี้ระยะ 0.98 km
ความชัน
(1125-879)/980 = 0.25
25%
พอกัน -"-
คำว่าความชัน 25-26% หมายความว่า
เดินได้ระยะ 4 เมตรในแนวราบ จะได้ความสูงเพิ่ม 1 เมตร
นี่คือความชันเฉลี่ยของการขึ้นยอดเขาแหลม จากทางเขาเขียว
***สำหรับคนที่สนใจเรื่องระยะแนวเอียง ว่ามันจะมากกว่าแนวราบแค่ไหน
เปรียบเทียบได้จากสูตรนี้ตรงๆครับ
sec(arctan(0.25))*100 = 103%
มากกว่ากันแค่ 3% ครับ เมตรนึง ต่างกันแค่ 3 cm
ขึ้นถึงยอดเขาแหลม เซลฟี่กันให้เต็มที่
แล้วไปต่อครับ
วิ่งลงไปหาน้ำแดง ข้าวขาหมูกัน
ตรงนี้ลาดเอียงลงเฉลี่ย 23% ย้ำนะครับ เฉลี่ย
แปลว่า บางที่มากกว่า บางที่น้อยกว่า
จากนั้น กลับมาไต่เนินอนันต์
ชัน 14% ด้วยระยะ 2.5 กิโลเมตร
ง่ายกว่าเพื่อนๆของมัน
แต่เราโดนเพื่อนๆมันนวดมาจนขาแข้งแทบไม่มีความรู้สึกแล้ว
เดินเป็นซอมบี้กันไป
และอย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากผ่านเขามาสี่ลูก
กึ่งรักกึ่งชังมันทุกเขาทุกยอด
แต่เห็นยึกๆสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัยไหมครับ
ตรงนั้นน่ะ คำอธิบายอยู่ในภาพ
20-25% คือค่าความชัน ของตะนาวศรีเทรล 30k
ระยะไต่ราวๆ 1-3 กิโลเมตร ในแต่ละช่วง
ซ้อมไงดี?!!
ซ้อมบันไดนั่นล่ะครับ
เพราะมาตรฐานบันได ผมเข้าใจว่าอยู่ที่ แถวๆ 30 กว่าองศา นั่นหมายถึงความชันไปอยู่แถวๆ 50%
แต่...
มันมีอีกตัวแปรครับ ที่ทำให้ การขึ้นเขาทางดิน ยากกว่าขึ้นบันได
คือการวางเท้าครับ
ด้วยความลาดเอียง มุมของเท้าที่วางลงไป จะดึงให้เอ็นร้อยหวายและน่องโดนดึงจนเหยียดกว่าทางราบ
จะไปตะนาวศรีเทรล ซ้อมเยอะๆครับ :)
ขอบคุณที่ตามอ่านกันจนมาถึงตรงนี้ (-/\-)
หากพบข้อมูลผิดพลาด พยายามหาทางส่งข่าวมาบอกหน่อยนะครับ จะได้แก้ไขให้ถูกต้อง ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ภาคสี่ ผมต้องหาอุปกรณ์บางอย่าง ขอใช้เวลาหาแพร็พ ;)
Comments
Post a Comment