Skip to main content

สูงและชัน 103.5 ขัดใจ! ทำไมต้องเป็นเปอร์เซนต์ความชัน?!

ตอนพิเศษ มาไขข้อข้องใจให้ฟังครับ :)

หลายคนอุตส่าห์ฝ่าฟันตรีโกณมิติ ตอนม.ต้นมาได้  ถึงจะลำบาก แต่ก็ตั้งใจจนผ่านกันมา
ก็ถนัดกับมุมองศากันไปแล้ว ถึงแม้จะเห็นแล้ว ยี้ๆๆๆ  ก็ตาม
ก็ยังถนัดกับ การวัดการเงยขึ้น ด้วยมุมองศา

แล้ว ทำไมอีลุงนี่ นำเสนอ เปอร์เซนต์ความชันอยู่ได้  ยี้ๆๆๆ

^___^;.

ใจเย็นๆนะ ใจเย็นๆ

คืองี้ครับ

เหตุผลตรงไปตรงมามาก คือมันใช้งานได้"จริง"กว่า การคิดเป็นมุม

ตัวเลขเป็นมุม เราแค่บอกได้ว่ามัน"บาน"แค่ไหน

แต่การบอกเป็น เปอร์เซนต์  เราสามารถเทียบอัตราส่วน และใช้งานได้ตรงๆ

มาดูรูปกัน

(ภาพหยิบยืมมาจาก Yet Another Cycling Forum เพื่อการศึกษานะครับ  ขออภัยที่เอามาไม่บอกกล่าว)
ภาพนี้เป็นทางลาดลง

สิ่งที่เห็น
20% ที่เห็น   จริงๆประกอบด้วยเลขสองตัว  คือ 20 กับ 100

ความหมาย 
เนื่องจากเป็นทางลง
จากจุดนี้ไป  ทุกๆการเคลื่อนที่ 100 เมตร  ระดับเราจะลดลง 20 เมตรเมื่อเทียบกับจุดตั้งต้น

แล้วไง?!
55  ก็มันเยอะนา  ถ้าขี่จักรยานนี่ เบรกๆบ้างก็ดี อย่าทิ่งดิ่ง

ในทางกลับกัน  ถ้าเค้าเขียนเป้น 11.3 องศา(ซึ่งมันลาดเท่ากับ 20%) 
แล้วไง?  เราจะเอาไปใช้งานต่อยังไง  กดเครื่องคิดเลข  กดฟังก์ชันไหนดีล่ะ sine หรือ cos หรือ tan ?
^^  ได้แน่นอนครับ  แต่มันช้ากว่า ซับซ้อนกว่า ในแง่การใช้งาน ถ้าเทียบกับ ข้อมูลที่เป็นเปอร์เซนต์


ทางขึ้นบ้าง
ภาพของคุณ Deano จาก YACF เช่นกัน สถานที่ในอิหร่าน
ข้อความล่างสุด บอกความชัน 6 เปอร์เซนต์

บอกระยะทางไว้ด้วย  12 km

จับ 6% x 12 km ได้เลยครับ  = 720 เมตร

ที่สุดปลายเนิน  จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าตรงป้ายนี้  720 เมตร



ทำไมต้องเป็นเปอร์เซนต์

ก็ยังเป็นคำถามที่สำคัญอยู่ ถึงเราจะเริ่มเห็นว่ามันใช้ง่ายกว่าองศาก็ตาม

ตัวเลขที่เห็นเป็นรูปของเปอร์เซนต์  จริงๆแล้วมันคือ อัตราส่วน ครับ

มาดูภาพนี้   (ของคุณ Deano เจ้าเก่า)

นี่!!  ป้ายนี้ ไม่ต้องคำนวณอะไรเลย

ลาดลง 1 หน่วย  ทุกๆ 5 หน่วย (วิธีอ่านป้าย  มองจากซ้ายไปขวานะครับ)

ใส่หน่วยที่ถนัดลงไปได้เลยครับ  ลาดลง 1 เมตร  ทุกๆ 5 เมตรที่เคลื่อนไปข้างหน้า


ภาพข้างล่างนี้จาก google map


พอมองเห็นตัวเลขไหมครับ  33%  ซึ่งจริงๆคือ 33:100

1:3 นั่นเอง   แปลได้แล้วใช่ไหมครับ  ขึ้น 1 เมตร ทุกๆระยะ 3 เมตร

ความชันระดับ 30 % นี่  ป้ายบอกว่า รถบรรทุกหนัก อย่าขึ้นมาเชียว

อย่างสะพานปกติบ้านเรา  ความชันไม่น่าเกิน 12-15% มั้งครับ(ตัวเลขนี้ไม่ยืนยันนะ  วิศวกรโยธาช่วยกระซิบมาหน่อย  แต่อยู่แถวๆนี้ล่ะ)

ไอสะพานหลายๆสะพานที่งานวิ่งถนนวิ่งกันอยู่นั่นน่ะ  รับประกันได้ ไม่มีสะพานไหนถึง20%
(อันที่เรากำหนดได้ ไม่ถูกภูมิประเทศบังคับนะ)

เพราะ หนึ่ง รถขึ้นไม่ไหว   สอง ล้อมันจะตะกุยพื้นพัง เปลืองค่าซ่อมบำรุง

นี่ชักก้าวก่ายงานโยธาฯละ เปลี่ยนเรื่องๆ


สรุป
เราใช้ความชันเป็นอัตราส่วน เพราะมันเอาไปใช้ได้ตรงไปตรงมา

เด็กฝรั่งท่องกันในวิชาคณิตศาสตร์ว่า rise/run

 ความสูง/แนวราบ


แล้วที่เราใช้งานตัวเลขอัตราส่วน  ในรูปของเปอร์เซนต์
เพราะจริงๆ พวกเราน่ะ คุ้นเคยกับเลขจำนวนเต็มที่ไม่เกินร้อย  เวลาใช้ ใช้ง่าย ใช้สะดวก  เลยจับเทียบกับ หนึ่งร้อยซะ  แล้วเรียกภาษาดูมีความรู้ว่า เปอร์เซนต์  :)



ที่ว่ามา  พอจะคุ้นเคยกับ การบอกความชันเป็นเปอร์เซนต์บ้างละยังครับ

ถ้าใครยังยืนยันว่า  ไม่เว้ย!!!  ยังไงก็รักมุมองศา 

อันนี้ใจเขาใจเราครับ  ผมก็มีองศาไว้บริการ :)

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Grade_(slope)

สีแดงเป็นเปอร์เซนต์  สีดำเป็นองศา   สีน้ำเงินม่วงๆเป็นอัตราส่วน



ถ้าพูดภาษาเลขๆ
ต้องบอกว่า มุม เป็นเรื่องของ polar coordinate
ในขณะที่  เปอร์เซนต์ความชัน  เป้นเรื่องของ Cartesian coordinate
ใช้งานได้ทั้งคู่  แต่สะดวกใช้งานแบบไหน   ขึ้นกับสถานการณ์ครับ  ยังไงมันก็เครื่องมือเรานั่นล่ะ




FC(Frequently comments)
 
อย่าคิดเยอะ  ออกไปซ้อม!!
อันนี้ไม่ได้ให้คิดเยอะครับ  แค่วางกรอบความคิดเชิงตัวเลข  เวลาคุยจะได้คุยกันสนุกๆ เข้าใจตรงกัน

และเห็นด้วยว่าต้องซ้อม 
อ่านเยอะ ไม่ได้ช่วย endurance ไม่ได้ช่วยการไต่เขาแน่ๆครับ ^___^
แต่เผื่อจะช่วยจุดความคิด จุด awareness ของการซ้อมได้บ้าง  ก็จะยินดียิ่ง

เอาข้อมูลมาจากไหน?!
เรียบเรียงเอาเองครับ ไม่ได้แปลอะไรจากไหนมา  ความรู้สมัยมัธยมนี่ล่ะ
แต่ภายภาคหน้า หากมี (มีแน่ๆ) จะเขียน ref ไว้ที่ท้ายเสมอครับ
 ส่วนภาพที่เอามาจากคนอื่น จะเขียนที่มากำกับไว้ทุกภาพครับ

ตกลงกับมาร์คได้ยัง? อย่างอแง
ยังครับ  เค้ายืนยันจะเอาเอกสารยืนยันตัวตน เช่นบัตรประชาชน
ก็ได้แต่รำพึงในใจ  "ไม่ให้เว้ย"



ขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามอ่านนะครับ
การได้รู้ว่ามีคนอ่าน  แม้แค่คนสองคน มันทำให้มีแรงเขียน   ขอบคุณจริงๆ
และเริ่มรู้สึกว่า  ผมอยุ่นอก fb ดูจะมีประโยชน์กว่าตอนเล่น fb แฮะ 55
แถมเวลาว่างเยอะขึ้นด้วย ^^

สวัสดี


---------------------------------------------
เรื่องนี้ มีต่อเนื่องมาสามตอนก่อนหน้านี้นะครับ  กด tag(Label) ข้างล่างที่ว่า สูงและชัน ดู

Comments

Popular posts from this blog

Gain กับ การเลือกเทรล

เกนๆๆ พูดอะไรกัน?!! #เทรลทัวริ่ง ชวนคุย สำหรับมือใหม่ที่มาจากทางเร ียบ เนื่องจาก ฤดูกาลรับสมัครแย่งชิงตัวนั กวิ่งเทรลกำลังเริ่มขึ้น (เข้าใจว่า จริงๆเริ่มแล้ว) นอกจากเรื่องค่าสมัครแล้ว ;p ข้อมูลนึงที่นักวิ่งควรจะนำ มาพิจารณาประกอบสมัคร คือ ค่า gain นี่ล่ะ ก็ขนาด i-tra ยังเอามาเป็น index ของระดับคะแนนเลยว่า.. ระยะทาง + (gain/100) คือตัวเลขที่นำมาพิจารณาให้ คะแนนของ race นั้นๆ บางท่านก็อาจฟันธงเลย “นี่ล่ะ ค่าความเหนื่อย” เช่น ระยะ 77 km gain 4000 = 77+ (4000/100) = 117 อ๋อออออ เหนื่อยพอๆกะวิ่ง 117 กิโลเมตร จะเอามาใช้แบบนี้ก็ไม่ผิดอะ ไร แต่อาจไม่ตรงความหมายเดิมเป ๊ะๆเท่านั้นเอง ลองดูตัวอย่างจากภาพครับ Note:: ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกั บผู้จัด cm6 นะครับ แจงไว้ก่อน แถมเอาภาพมานี่ก็ไม่ได้ขออน ุญาต แฮร่!! ดูภาพๆ จาก จุดสตาร์ท ไป hq1 เอาความสูงทั้งสองจุด จับมาลบกัน 1350 - 331 = 1019 Gain ช่วงนี่คือ 1019 เมตรครับ นับแบบนี้เลยรึ?!! ครับ นับประมาณๆเอา เพราะทางขึ้นช่วงนี้ แทบไม่มีทางลงเลย(มีบ้างล่ะ แต่ไม่เป็นนัยะ) ทีนี้ดูระยะทางนะครับ 10 km ...

สูงและชัน 102 Elevation gain

จาก สูงและชัน 101 เราคุยกันเรื่อง ความสูง และความชันเบื้องต้นกันไปแล้ว คราวนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่อง.... Elevation gain ความสูงสะสมรวมของทั้งเรซ มาดูกัน ว่า"สะสม"กันแบบไหน ดูภาพกันเลย รายการวิ่ง ปาโจเทรล(นามสมมุติ) ระยะ 40 กิโลเมตร ยอดเขายอดที่สูงที่สุด สูง 1500 เมตร เทียบกับจุดสตาร์ท เรซนี้นี้ มีค่าเกน 2000 เมตรครับ นับยังไง? ภูเขาลูกแรก  ไต่ขึ้นสูง 1000 เมตร  ไต่ถึงยอดแล้ว ทดไว้ในใจ ^^ ตอน down hill  ระวังดีๆ อย่าสะดุดรากไม้ เดี๋ยวไอที่ทดไว้หาย ขึ้นลูกที่สอง ไต่ขึ้นอีก 1000 เมตร เอามารวมกับที่ทดไว้ในใจ 1000+1000 ครับ นับแต่เฉพาะความสูงที่เราต้องไต่ขึ้น มารวมๆกัน ความสูงที่สะสมทั้งหมด รวมกันได้ 2000 เมตร ด้วยวิธีคิดแบบนี้ เราจึงเรียกว่า Elevation gain ความสูงสะสม สรุปแบบพูดสั้นๆ ไทยสไตล์ ปาโจเทรล 40k gain 2000 m คราวนี้มาดูอีกเรซ ทรายขาวเทรล(นามสมมุติเช่นกัน ^^) ทรายขาวเทรล 40k เช่นกัน ดูออกไหมครับ ว่า เกน เท่าไร ขึ้นเขา 4 ครั้ง ครั้งละ 500 เมตร ครับ!!! ทรายขาวเทรล 40k   เกน ก็ 2000 เมตรเช่นกัน ...

สูงและชัน 101

มีเวลาว่างมาก เพราะไม่ได้เล่น fb แล้ว :p ขอจัดเต็มกะไอเรื่องนี้สักที  เอาให้จบๆไป นอกจากนักวิ่งสายเทรล  ผมเชื่อว่ามีประโยชน์กับเด็กที่กำลังเรียนเลขด้วย ม่ะ  ถ้าว่าง ก็ตามมา อ้อ เลเวล ระดับเริ่มต้นนะครับ  แบบพื้นฐานกันสุดๆ ดูภาพนะครับ ณ เทือกเขา ABC  ที่มีจุดสูงสุด ทียอด B ขอตั้งชื่อดีกว่า  ณ เทือกเขาบูโด การข้ามเขา จาก จุดA ไปถึง จุดC  โดยการปีนขึ้นยอด แล้วไหลลง gps บนนาฬิกาเรา จะบอกว่า เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร  มันจับระยะตามแนวตรงจาก a ถึง c เลย แม้จริงๆเราจะขึ้นไปตามแนวเอียง และลงมาตามแนวราบ ซึ่งเห็นอยู่ชัดๆ ว่า ไม่น่าใช่ 60 กิโลเมตร ต้องมากกว่าแน่ๆ แต่ นาฬิกาเรา มันจะยืนยันว่า 60 เอ้า งี้วิ่งจริง ก็ไกลกว่าที่ gps บอกสิ?!! แหงครับ  แน่นอนครับ ชัวร์ เรื่องแรกที่ต้องรู้เลย..คือ เวลาวิ่งเทรลขึ้นเขา  เราจะวิ่ง"ไกลกว่า"ระยะที่นาฬิกาบนข้อมือบอกเรา แต่  อย่าตกใจครับ เราไม่รู้หรอก 55 นาฬิกามันบอกก็เชื่อๆมันไปเถอะ ^^ จริงๆ ที่บอกว่าอย่าตกใจ เพระ ความคลาดเคลื่อนมันนิดเดียวครับ รายการเทรลในเมืองไทย...