เดี๋ยวๆ เรียกใคร?!
ถ้าคนเขียนนี่ เป็นอีลุงครับ แบบนี้เรียกได้ อีลุงเบนซ์ไรงี้
แล้วจะเรียกใครว่า อีลิทล่ะ
คำๆนึง จะมีความหมายว่าอะไร ก็ขึ้นกับใครจะนิยาม
และ.. เมื่อนิยามแล้ว จะมีคนเห็นด้วยมั้ย ก็อีกเรื่องนึง ^^;
เดี๋ยวยาวอีก เอ้า มาดูว่า ITRA ว่าไว้ว่าไง
นี่ตารางอะไร?
Hommes แปลว่า ผู้ชาย เป็นภาษาฝรั่งเศส นี่ถามอากู๋มา
Niveau แปลว่า level นี่ก็ถามกู๋ - -;
> 900 AAA
คุณคือ Elite 1 ระดับนานาชาติ!!
นี่ล่ะครับ ITRA นิยามการเรียกไว้ตามตารางนี้
มี expert มี advanced มี intermediate
พอรู้ว่าแบ่งแบบนี้ปั๊บ รีบไปดูของตัวเองทันที
ครับ!! จริงๆก็ไม่ต้องดู ก็รู้อยู่แล้ว ^ ^;
อีลุงเบนซ์ <350 ระดับ E Starter
ดูยังไง?! ทางนี้ครับ ลองไปดูตัวเลขของตัวเองตาม link นี้
http://www.i-tra.org/community/
กรอกชื่อตัวเองให้ตรงกับที่เคยสมัครกะ race ต่างๆ
จะเห็นตารางที่มีเขียนว่า cotation เป็นภาษาฝรั่งเศสอีก น่าจะแปลว่า rating
(ทำไมชีวิตจะต้องลำบากขนาดนี้ -"- )
จริงๆตัวสีฟ้านั่นล่ะครับ ที่กำลังจะพูดถึง
Performance index
นี่ถึงกับเอาตัวเองเข้าแลก เพื่อการศึกษา
เพราะงั้น กรุณาอย่าโห่อย่าฮา อย่าทำปากสระอิใส่ กับค่า PI ที่เห็น ^^;
308 ของอีลุงมาจากไหน
มีสี่ตัวแปรครับ ที่ทำให้เกิดเลขตัวนี้
หนึ่ง
เวลาที่เข้าเส้นชัย ของลุงเป็น 27 ชั่วโมงโดยประมาณ
ในสนามที่มี km-effort 148
จำ km-effort ได้อยู่ใช่ไหมครับ
ระยะทางหน่วยกิโลเมตร + (ความสูงสะสมหน่วยเป็นเมตร/100)
สอง
เวลาที่เข้าเส้นชัย(ในเชิงทฤษฎี) ของนักวิ่งอันดับหนึ่งของโลก ในสนามที่มี km-effort เท่ากับสนามนี้
ITRA จัดทำข้อมูลนี้
(ซึ่งไม่รู้ว่าหายังไง เค้าคงมีฐานข้อมูลของเค้า - -;)
สมมุติเป็น X ก่อนละกัน
จับ ( X/เวลาของเรา ) × 1000
จะได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า score
จำ score นี่ไว้ดีๆนะครับ ทดไว้ในใจก่อน
มีตัวเลขอีกสองตัวครับ ที่เกี่ยวข้อง
สาม
score เฉลี่ยของคนทั้งหมด ที่วิ่งในสนามเดียวกับลุง
สี่
performance index เฉลี่ย ของคนทั้งหมด ที่วิ่งสนามเดียวกับลุง
จับหารกัน
performance index เฉลี่ย / score เฉลี่ย
ตัวเลขที่ได้ เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์
สุดท้ายยยยย
ค่าสัมประสิทธิ์ × score
จะได้ Performance index ของลุง ที่เค้าคิดมาให้เรียบร้อย ว่า 308
------------------------------
นี่พยายามเรียบเรียงคำให้ดูง่ายๆที่สุดแล้วนะ ยังรู้สึกวุ่นวาย
เอาใหม่ๆ
อย่างแรก คือ เอาเวลาเราในสนามจริง เทียบกับเวลาของนักวิ่งระดับโลก(ซึ่งไม่ได้มาวิ่งกะเรา เป็นค่าประเมิน)
เอาเวลาของเรา ที่มากกว่าแน่ๆ เป็นตัวหาร
จะ ..ได้ค่าความกาก เอ้ย ได้รู้ว่าเราเป็นแค่เศษส่วนเท่าไหร่ของคนเก่งที่สุดในโลก
ตัวเลขที่ออกมาเป็นทศนิยมที่ไม่ถึง 1
จับคูณ 1000
(ตรงนี้ไม่มีอะไร แค่ทำให้เป็นจำนวนที่อ่านง่ายๆ)
ได้เป็น score ของเรา
ทีนี้
เรา (ITRA)ก็ให้เครดิตสภาพสนาม
ด้วยการ เอาค่าเฉลี่ยของ PI ของคนทั้งหมด ที่วิ่งกะเรา(ค่านี้น่าจะเฉลี่ยจากคนที่เส้นสตาร์ท) หารด้วยค่าเฉลี่ยของ score ของคนที่วิ่งจบในสนามนี้
ค่าตรงนี้ ITRA บอกว่า น่าจะสะท้อนสภาพสนามของเรซนั้น ในวันนั้น ออกมาได้ดีระดับนึง
เรียกเป็น coefficient ก็ได้
coefficient × score = performance index
เท่าที่หาข้อมูลมา เค้าคำนวณมาประมาณนี้
(ใครมีข้อมูลที่ชัดเจน หรือพบว่าผิดพลาดประการใด ช่วยแจ้งมานะครับ นี่แค่หาเอาจากตามเว็บ ไม่เคยได้ไปเกี่ยวข้องกับการทำงานจริงของผู้จัด หรือ itra)
จริงๆ ทั้งหมดนี่สำหรับคนสงสัยเรื่องที่มาของ PI
ต้องรู้มั้ย?!!
เอิ่ม ...จริงๆก็ไม่ต้องครับ กดที่เสิร์ช ค่า PI ก็โชว์ออกมาแล้ว
ทีนี้ ถ้าเราวิ่งบ่อยๆล่ะ แต่ละเรซ เราก็จะได้ค่า PI มา
ค่าที่เห็นในตาราง จะเอาค่าเฉลี่ยจาก 5 ครั้งที่ดีที่สุดครับ
นับแยกตาม size ของสนาม ที่มี คะแนน itra กำกับไว้ครับ
ตัวอย่าง
งานมนุษย์กบ 50k ที่ผ่านมาก็ ITRA 3
เมื่อเราได้ performance index มา ก็จะถูกเอาไปแยกคิดใน category 3 ด้วยกัน
อ้อ มีเรื่องชวนสังเกตเรื่องนึงนะครับ
performance index ไม่ได้นำเอาอันดับ(rank) ในการเข้าเส้นชัยมาคิดเลยนะครับ
เอา เวลา ที่ทำได้ เป็นหลัก
ดังนั้น การจะได้ PI สูงๆ คือต้องทำเวลาให้ดี ให้เข้าไปใกล้ระดับโลก เพื่อค่าเศษส่วนจะได้ใกล้ 1
ซึ่งคงต้องฝ่าฟันกันมากมายทีเดียว
และ PI ที่ติด E เอ้ย ระดับ E ก็คือพวกบรรดา คนที่วิ่งหนี dnf เป็นอาชีพนั่นล่ะครับ เวลาจะยืดๆยาวๆหน่อย พอหารมา แทบไม่เหลือเศษ!!
พวกติด E นี่ คล้ายหนังไทยครับ มีครบทุกรส ทั้งเซลฟี่ ทั้งเฮฮาปาร์ตี้ ทั้งท้อแท้หมดหวัง ทั้งใกล้ตาย ทั้งตะคริวจับ อยากระเบิดภูเขา อยากเผากระท่อม ก็มีรสชาติของชีวิตอีกแบบนึง ^^
(อันนี้ประสบการณ์ตรงครับ 55 เล่าได้เต็มปากเต็มคำ)
ส่วนใครอยู่ หรือกำลังไต่ขึ้นสู่ level Elite ก็ขอให้สู้ๆนะครับ แนวหลังอย่างลุง เอาใจช่วยอยู่เสมอ
อ้อๆ เดี๋ยวสิ ก่อนจบ
คะแนนของสาวๆ แยกออกมาอีกกลุ่มนะครับ
ไม่ปนกันกับหนุ่มๆ
คำถามสุดท้าย เอา Perfrmance index ไปทำอะไร?
ดูรูปกันดีกว่า
รายการนี้ คนไทยชื่นชอบ ได้ข่าวว่าบางระยะ คนไทยเยอะพอๆกะเวียดนาม อันนี้ได้ยินมา จริงเท็จประการใด ไม่กล้ายืนยัน
ITRA5 เราอ่านกันเป็นหมดแล้วเนาะ ว่ามายังไง
(ถ้ายังไม่รู้ ลองรื้อๆดูใน blog นี้ล่ะครับ)
เลข 5 ตัวที่สอง คือ ความยากในการขึ้นเขา รายการนี้เป็นไคจูระดับ 5
ตัวที่สาม เลข 350
อันนี้ล่ะครับ เป็นตัวเลขที่ทางเรซเขาช่วยประเมินให้ว่า...
เรซนี้นะ
ถ้าอยากรอด กรุณาดู PI ของตัวเอง ที่ size สนามที่มี km-effort แถวๆ 150( คือ ดูให้ชัวร์ ว่าสนามขนาดเดียวกัน)
ถ้าเกิน 350 ก็มีโอกาสรอด มีโอกาสจบล่ะ สมัครเลย
ส่วนลุง 308 ... ทำได้แค่ หัวเราะหึๆ แล้วนอนอยู่บ้าน
ยาวอีกแล้ว
ขอบคุณนะครับ ที่อุตส่าห์อ่านจนมาถึงตรงนี้
วิ่งให้สนุก สุขภาพดีทุกท่านครับ
***
ข้อมูลและภาพ จาก i-tra.org และ tracedetrail.fr
ถ้าคนเขียนนี่ เป็นอีลุงครับ แบบนี้เรียกได้ อีลุงเบนซ์ไรงี้
แล้วจะเรียกใครว่า อีลิทล่ะ
คำๆนึง จะมีความหมายว่าอะไร ก็ขึ้นกับใครจะนิยาม
และ.. เมื่อนิยามแล้ว จะมีคนเห็นด้วยมั้ย ก็อีกเรื่องนึง ^^;
เดี๋ยวยาวอีก เอ้า มาดูว่า ITRA ว่าไว้ว่าไง
นี่ตารางอะไร?
Hommes แปลว่า ผู้ชาย เป็นภาษาฝรั่งเศส นี่ถามอากู๋มา
Niveau แปลว่า level นี่ก็ถามกู๋ - -;
> 900 AAA
คุณคือ Elite 1 ระดับนานาชาติ!!
นี่ล่ะครับ ITRA นิยามการเรียกไว้ตามตารางนี้
มี expert มี advanced มี intermediate
พอรู้ว่าแบ่งแบบนี้ปั๊บ รีบไปดูของตัวเองทันที
ครับ!! จริงๆก็ไม่ต้องดู ก็รู้อยู่แล้ว ^ ^;
อีลุงเบนซ์ <350 ระดับ E Starter
ดูยังไง?! ทางนี้ครับ ลองไปดูตัวเลขของตัวเองตาม link นี้
http://www.i-tra.org/community/
กรอกชื่อตัวเองให้ตรงกับที่เคยสมัครกะ race ต่างๆ
จะเห็นตารางที่มีเขียนว่า cotation เป็นภาษาฝรั่งเศสอีก น่าจะแปลว่า rating
(ทำไมชีวิตจะต้องลำบากขนาดนี้ -"- )
จริงๆตัวสีฟ้านั่นล่ะครับ ที่กำลังจะพูดถึง
Performance index
นี่ถึงกับเอาตัวเองเข้าแลก เพื่อการศึกษา
เพราะงั้น กรุณาอย่าโห่อย่าฮา อย่าทำปากสระอิใส่ กับค่า PI ที่เห็น ^^;
308 ของอีลุงมาจากไหน
มีสี่ตัวแปรครับ ที่ทำให้เกิดเลขตัวนี้
หนึ่ง
เวลาที่เข้าเส้นชัย ของลุงเป็น 27 ชั่วโมงโดยประมาณ
ในสนามที่มี km-effort 148
จำ km-effort ได้อยู่ใช่ไหมครับ
ระยะทางหน่วยกิโลเมตร + (ความสูงสะสมหน่วยเป็นเมตร/100)
สอง
เวลาที่เข้าเส้นชัย(ในเชิงทฤษฎี) ของนักวิ่งอันดับหนึ่งของโลก ในสนามที่มี km-effort เท่ากับสนามนี้
ITRA จัดทำข้อมูลนี้
(ซึ่งไม่รู้ว่าหายังไง เค้าคงมีฐานข้อมูลของเค้า - -;)
สมมุติเป็น X ก่อนละกัน
จับ ( X/เวลาของเรา ) × 1000
จะได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า score
จำ score นี่ไว้ดีๆนะครับ ทดไว้ในใจก่อน
มีตัวเลขอีกสองตัวครับ ที่เกี่ยวข้อง
สาม
score เฉลี่ยของคนทั้งหมด ที่วิ่งในสนามเดียวกับลุง
สี่
performance index เฉลี่ย ของคนทั้งหมด ที่วิ่งสนามเดียวกับลุง
จับหารกัน
performance index เฉลี่ย / score เฉลี่ย
ตัวเลขที่ได้ เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์
สุดท้ายยยยย
ค่าสัมประสิทธิ์ × score
จะได้ Performance index ของลุง ที่เค้าคิดมาให้เรียบร้อย ว่า 308
------------------------------
นี่พยายามเรียบเรียงคำให้ดูง่ายๆที่สุดแล้วนะ ยังรู้สึกวุ่นวาย
เอาใหม่ๆ
อย่างแรก คือ เอาเวลาเราในสนามจริง เทียบกับเวลาของนักวิ่งระดับโลก(ซึ่งไม่ได้มาวิ่งกะเรา เป็นค่าประเมิน)
เอาเวลาของเรา ที่มากกว่าแน่ๆ เป็นตัวหาร
จะ ..ได้ค่าความกาก เอ้ย ได้รู้ว่าเราเป็นแค่เศษส่วนเท่าไหร่ของคนเก่งที่สุดในโลก
ตัวเลขที่ออกมาเป็นทศนิยมที่ไม่ถึง 1
จับคูณ 1000
(ตรงนี้ไม่มีอะไร แค่ทำให้เป็นจำนวนที่อ่านง่ายๆ)
ได้เป็น score ของเรา
ทีนี้
เรา (ITRA)ก็ให้เครดิตสภาพสนาม
ด้วยการ เอาค่าเฉลี่ยของ PI ของคนทั้งหมด ที่วิ่งกะเรา(ค่านี้น่าจะเฉลี่ยจากคนที่เส้นสตาร์ท) หารด้วยค่าเฉลี่ยของ score ของคนที่วิ่งจบในสนามนี้
ค่าตรงนี้ ITRA บอกว่า น่าจะสะท้อนสภาพสนามของเรซนั้น ในวันนั้น ออกมาได้ดีระดับนึง
เรียกเป็น coefficient ก็ได้
coefficient × score = performance index
เท่าที่หาข้อมูลมา เค้าคำนวณมาประมาณนี้
(ใครมีข้อมูลที่ชัดเจน หรือพบว่าผิดพลาดประการใด ช่วยแจ้งมานะครับ นี่แค่หาเอาจากตามเว็บ ไม่เคยได้ไปเกี่ยวข้องกับการทำงานจริงของผู้จัด หรือ itra)
จริงๆ ทั้งหมดนี่สำหรับคนสงสัยเรื่องที่มาของ PI
ต้องรู้มั้ย?!!
เอิ่ม ...จริงๆก็ไม่ต้องครับ กดที่เสิร์ช ค่า PI ก็โชว์ออกมาแล้ว
ทีนี้ ถ้าเราวิ่งบ่อยๆล่ะ แต่ละเรซ เราก็จะได้ค่า PI มา
ค่าที่เห็นในตาราง จะเอาค่าเฉลี่ยจาก 5 ครั้งที่ดีที่สุดครับ
นับแยกตาม size ของสนาม ที่มี คะแนน itra กำกับไว้ครับ
ตัวอย่าง
งานมนุษย์กบ 50k ที่ผ่านมาก็ ITRA 3
เมื่อเราได้ performance index มา ก็จะถูกเอาไปแยกคิดใน category 3 ด้วยกัน
อ้อ มีเรื่องชวนสังเกตเรื่องนึงนะครับ
performance index ไม่ได้นำเอาอันดับ(rank) ในการเข้าเส้นชัยมาคิดเลยนะครับ
เอา เวลา ที่ทำได้ เป็นหลัก
ดังนั้น การจะได้ PI สูงๆ คือต้องทำเวลาให้ดี ให้เข้าไปใกล้ระดับโลก เพื่อค่าเศษส่วนจะได้ใกล้ 1
ซึ่งคงต้องฝ่าฟันกันมากมายทีเดียว
และ PI ที่ติด E เอ้ย ระดับ E ก็คือพวกบรรดา คนที่วิ่งหนี dnf เป็นอาชีพนั่นล่ะครับ เวลาจะยืดๆยาวๆหน่อย พอหารมา แทบไม่เหลือเศษ!!
พวกติด E นี่ คล้ายหนังไทยครับ มีครบทุกรส ทั้งเซลฟี่ ทั้งเฮฮาปาร์ตี้ ทั้งท้อแท้หมดหวัง ทั้งใกล้ตาย ทั้งตะคริวจับ อยากระเบิดภูเขา อยากเผากระท่อม ก็มีรสชาติของชีวิตอีกแบบนึง ^^
(อันนี้ประสบการณ์ตรงครับ 55 เล่าได้เต็มปากเต็มคำ)
ส่วนใครอยู่ หรือกำลังไต่ขึ้นสู่ level Elite ก็ขอให้สู้ๆนะครับ แนวหลังอย่างลุง เอาใจช่วยอยู่เสมอ
อ้อๆ เดี๋ยวสิ ก่อนจบ
คะแนนของสาวๆ แยกออกมาอีกกลุ่มนะครับ
ไม่ปนกันกับหนุ่มๆ
คำถามสุดท้าย เอา Perfrmance index ไปทำอะไร?
ดูรูปกันดีกว่า
รายการนี้ คนไทยชื่นชอบ ได้ข่าวว่าบางระยะ คนไทยเยอะพอๆกะเวียดนาม อันนี้ได้ยินมา จริงเท็จประการใด ไม่กล้ายืนยัน
ITRA5 เราอ่านกันเป็นหมดแล้วเนาะ ว่ามายังไง
(ถ้ายังไม่รู้ ลองรื้อๆดูใน blog นี้ล่ะครับ)
เลข 5 ตัวที่สอง คือ ความยากในการขึ้นเขา รายการนี้เป็นไคจูระดับ 5
ตัวที่สาม เลข 350
อันนี้ล่ะครับ เป็นตัวเลขที่ทางเรซเขาช่วยประเมินให้ว่า...
เรซนี้นะ
ถ้าอยากรอด กรุณาดู PI ของตัวเอง ที่ size สนามที่มี km-effort แถวๆ 150( คือ ดูให้ชัวร์ ว่าสนามขนาดเดียวกัน)
ถ้าเกิน 350 ก็มีโอกาสรอด มีโอกาสจบล่ะ สมัครเลย
ส่วนลุง 308 ... ทำได้แค่ หัวเราะหึๆ แล้วนอนอยู่บ้าน
ยาวอีกแล้ว
ขอบคุณนะครับ ที่อุตส่าห์อ่านจนมาถึงตรงนี้
วิ่งให้สนุก สุขภาพดีทุกท่านครับ
***
ข้อมูลและภาพ จาก i-tra.org และ tracedetrail.fr
Comments
Post a Comment