Skip to main content

หนึ่งอุบัติเหตุ สองการเฉียดตาย

เรื่องมันตั้งต้นที่การตัดสินใจไป แล้วเกิดผิดพลาด 
ผลทำให้ตกไปอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายอย่างไม่ทันนึก

เกือบ 2 ทุ่ม บนเส้นทางชาวบ้าน กระแสน้ำป่าที่ไหลแรง ไหลตัดผ่านถนน  น้ำไหลจากซ้ายไปขวา

หลังจากลองก้าวไปหยั่ง ๆ ดู พบว่าสามารถเดินต้านน้ำไปได้  พอถึงกลางทาง หันตัวกลับมายืนในแนวด้านน้ำ ลำตัวตั้งฉากกับกระแสน้ำ  ส่งมือให้น้องสองท่าน ให้เกาะมาด้วยกัน

วินาทีที่มือจับกัน  เหมือนถูกน้ำผลักให้ล้มคว่ำ และทุกคนถูกสายน้ำดูดลงลำห้วยข้างทาง

วินาทีที่ไปหมุนอยู่ใต้น้ำ ขาแข้งปะทะหินและแท่งคอนกรีตที่อยู่ใต้น้ำ  น้ำแรงชนิดที่จับหญ้ากอใหญ่ ๆ ที่ตลิ่ง หญ้าขาดติดมือ  ตอนนั้นมืดมาก ไม่รู้ทางน้ำยาวไปถึงไหน  คิดอย่างเดียว ถ้าไหลตามน้ำไปจนถึงน้ำตกข้างหน้า ต้องตายแน่นนอน

แต่ในที่สุดท้งสามคนที่ถูกน้ำพัดไป ล้วนไต่กลับขึ้นมาบนตลิ่งได้  แต่ละคนบาดเจ็บแตกต่างกัน

สำรวจตัวเอง  มีแผลขูดขีดอยู่ที่ขาทั้งสองข้าง  ส่วนใหญ่เป็นแผลถลอก  แต่มีอยู่แผลนึงที่มีเลือดไหลออกทางจากหัวเข่าไหลเป็นทางผ่านหน้าแข้งอย่างเห็นได้ชัด

แต่อย่างน้อยก็รอดแล้ว   สามารถเดินขึ้นเขาระยะทาง 2 km ไปขอความช่วยเหลือจากจุดให้ความช่วยเหลือของการแข่งขันได้

จุดที่ตกลงไป


ทั้งสามคนถูกส่งห้องฉุกเฉิน
ตีสอง แผลที่เลือดไม่หยุดได้รับการเย็บเรียบร้อย
แผลที่ถูกเย็บมา 3 เข็ม ได้รับคำสั่งจากแพทย์ให้ไปล้างทุกวันที่สถานพยาบาลใดก็ได้  จนกว่าจะตัดไหม

เรื่องราวที่รอดตายมา น่าจะจบลงแค่นี้  แต่ก็ไม่ใช่

➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖

วันที่ออกจากห้องฉุกเฉินนับเป็นวันที่ 0 สำหรับเรื่องราวที่จะเกิดอย่างต่อเนื่องไปอีกถึงสองเดือน

วันที่ 1
ไปล้างแผล ที่เกิดจากการเย็บ
พยาบาลที่ทำแผล สังเกตเห็นว่ามีหนองออกมามากกว่าปกติ แนะนำให้มาพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้น

อาการที่เข่าวันนี้คือ มีอาการปวดบวม
ซึ่งนึกว่าเกิดจากการที่ไปกระแทกของแข็ง

วันที่ 2
เริ่มปวดเข่าแม้จะอยู่นิ่ง ๆ 
งอเข่าแล้วปวดมาก
รอบ ๆ เข่าบวมมาก
เริ่มหนาวสั่น แต่ไม่มีไข้

ไปพบแพทย์เฉพาะทาง  คุณหมอเห็นแผลและหนองที่มีฟอง และดูจากอาการปวดบริเวณต่างๆรอบๆแผล คุณหมอตัดสินใจเปิดแผล

คุณหมอคว้านเนื้อที่ติดเชื้อ และเนื้อที่เริ่มตายบางส่วนออก และแจ้งว่า ทำได้แค่นี้สำหรับการฉีดยาชา  ถ้าทำให้จบต้องผ่าตัดใหญ่

ได้รับยาฆ่าเชื้อ 3 ขวดแรกทางสายน้ำเกลือ ในวันนั้น

วันที่ 3
เดินทางมาโรงพยาบาลที่มีประกัน

ครั้งแรกที่ได้เห็นหัวเข่าตัวเอง
วันนี้ป็นวันที่ความปวดถึงขีดสุด
จังหวะที่ผ้าก๊อซที่ซุกในแผลถูกดึงออกมา ก่อนถ่ายภาพนี้   เป็นความรู้สึก"เจ็บแทบดิ้น" เป็นครั้งแรก

มีการเอาเข็มเจาะเข้าไปทดสอบ เพื่อหาหลักฐานว่าเชื้อเข้าไปถึงข้อกระดูกแล้วยัง  
ดูเหมือนได้ข่าวดี ที่เชื้อยังไม่เข้าไปในข้อเข่า

ในที่สุด เช้ามืดวันที่ 4
ถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัดใหญ่ ถูกบล็อคหลัง 
ทีมผ่าตัดใช้เวลาราว 1:30 ในการคว้านเนื้อที่เสียหาย เนื้อที่ตายและหนองออก

ผ่าตัดเสร็จ คุณหมอแจ้งว่า จะยังไม่เย็บปิดแผล ต้องรอให้มั่นใจว่า เชื้อถูกกำจัดไปหมดแล้ว

ตอนนั้นยังไม่เข้าใจกระบวนการนี้  แค่สงสัยว่า แผลผ่าตัด เปิดทิ้งไว้ได้ด้วยเหรอ?

คำถามนี้ จะได้รับคำตอบในเวลาต่อมา

ภาพจากนี้ไป จะเป็นสภาพของแผล เกิดจากการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Aeromonas hydrophila(ผลทดสอบจากห้องแล็บ) ซึ่งเป็นเชื้อที่ความรุนแรงของอาการอาจรุนแรงถึงตายหรือพิการได้ 

ซึ่งภาพไม่ใช่ภาพที่เจริญตา   
⚠แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเลื่อนลงไปดู หากเคยดูภาพประเภทนี้แล้วติดตา

.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

สายวันที่ 4
พยาบาล มาล้างแผลครั้งแรก  ขอถ่ายภาพไว้
สภาพแผลเช้าวันนั้น
สิ่งที่ทำหลังการล้างแผลคือเอาผ้าก๊อซอุดเอาไว้ในเต็มในรอยคว้าน  ถ้าเปิดผ้าพันจะเห็นเป็นแบบนี้

แต่จริงๆแล้ว นี่คือผ้าก๊อซทั้งหมด
แผ่นที่ 1 และ 2 ถูกสอดเข้าไปใต้ผิวหนัง

วันที่ 5 หลังดึงผ้าก๊อซออกก็จะเริ่มมีเลือดชุ่มๆตามออกมา

วันที่ 6
คุณหมอให้ออกจากโรงพยาบาล เพราะเหลือเพียงการทำแผลให้สะอาดวันละครั้งเท่านั้น

แต่คุณหมอก็สาธิตให้ดู ว่าจะบอกสถานพยาบาลที่ไปทำแผลว่าให้ทำอย่างไร
โดยยกหนัง ขึ้นทั้งสองฝั่ง และย้ำว่า ต้องคว้านสำลีเข้าไปทำความสะอาดทั้งสองฝั่ง

ฝั่งเข่าด้านนอก

ฝั่งเข่าด้านใน
ระหว่างคุณหมอทำให้ดู นี่ก็นั่งดูหนังตัวเองถูกยกไป ไม่รู้ควรทำหน้ายังไง มีอารมณ์ยังไงดี 😂

หลังจากนั้นคือต้องนั่งดูแผลถูกคว้านเพื่อทำความสะอาดทุกๆวัน

เวลาที่ดึงผ้าก๊อซออก ก็มีของเหลวใส ๆ ไหลออกจากแผลมากองอยู่เต็มเตียงทำแผล
แต่เรื่องดีๆ  ก็มีมาบ้าง  เมื่อ คุณหมอสั่งให้หยุดกินยาฆ่าเชื้อตั้งแต่วันที่ 22

เป็นการได้รับยาฆ่าเชื้อที่ยาวนานที่สุดครั้งนึง

สภาพแผลวันที่ 30
ทุกวันที่ผ่านมา คือต้องตอบคำถามคนที่ห่วงใยที่คอยถามไถ่มาตลอดว่า"แผลแห้งแล้วยัง?" 

อธิบายด้วยคำพูดยังไงก็ทำให้เห็นเป็นภาพไม่ได้ ว่าไอ้เนื้อแดงๆที่นั่งมองอยู่ทุกวัน มันไม่ได้ใกล้เคียงกับคำว่าใกล้หายแม้แต่น้อย 😅
ณ วันนั้น ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าอีกนานไหมกับสภาพแบบนี้

วันที่ 32
คุณหมอตัดสินใจลดขนาดพื้นที่ของแผลในส่วนที่สัมผัสอากาศ โดยการดึงริมปากแผลเข้าหากันด้วยด้ายเย็บแผล

แน่นอน ต้องแซะหนังกับเนื้อที่ติดกันแล้วออก เพื่อให้ดึงหนังเข้าหากันได้

ผลข้างเคียงของการดึงหนังเข้าหากัน ทำให้งอเข่าไม่ได้อีกครั้ง


สภาพพัฒนาการแผลที่ถูกเย็บ  และถูกเย็บซ้ำ แต่ไม่ได้ลดขนาด  จนกระทั่งเกิดสะเก็ดขึ้นบนพื้นที่เปิดของแผล และตัดไหมออกในวันที่ 60
และสภาพแผลที่เชื่อมติดกันแล้วในวันที่ 72

สิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ป่วยรักษาแผลติดเชื้อของโรงพยาบาล

เหลือการบำบัดฟื้นฟูการเคลื่อนไหวข้อเข่า เพื่อให้การเคลื่อนไหวเป็นปกติ เหมือนก่อนเกิดเหตุ

บันทึกเอาไว้ เพื่อเป็น case study ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับคนที่มาอ่าน

ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้นจนจบเรื่อง

Comments

Popular posts from this blog

Gain กับ การเลือกเทรล

เกนๆๆ พูดอะไรกัน?!! #เทรลทัวริ่ง ชวนคุย สำหรับมือใหม่ที่มาจากทางเร ียบ เนื่องจาก ฤดูกาลรับสมัครแย่งชิงตัวนั กวิ่งเทรลกำลังเริ่มขึ้น (เข้าใจว่า จริงๆเริ่มแล้ว) นอกจากเรื่องค่าสมัครแล้ว ;p ข้อมูลนึงที่นักวิ่งควรจะนำ มาพิจารณาประกอบสมัคร คือ ค่า gain นี่ล่ะ ก็ขนาด i-tra ยังเอามาเป็น index ของระดับคะแนนเลยว่า.. ระยะทาง + (gain/100) คือตัวเลขที่นำมาพิจารณาให้ คะแนนของ race นั้นๆ บางท่านก็อาจฟันธงเลย “นี่ล่ะ ค่าความเหนื่อย” เช่น ระยะ 77 km gain 4000 = 77+ (4000/100) = 117 อ๋อออออ เหนื่อยพอๆกะวิ่ง 117 กิโลเมตร จะเอามาใช้แบบนี้ก็ไม่ผิดอะ ไร แต่อาจไม่ตรงความหมายเดิมเป ๊ะๆเท่านั้นเอง ลองดูตัวอย่างจากภาพครับ Note:: ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกั บผู้จัด cm6 นะครับ แจงไว้ก่อน แถมเอาภาพมานี่ก็ไม่ได้ขออน ุญาต แฮร่!! ดูภาพๆ จาก จุดสตาร์ท ไป hq1 เอาความสูงทั้งสองจุด จับมาลบกัน 1350 - 331 = 1019 Gain ช่วงนี่คือ 1019 เมตรครับ นับแบบนี้เลยรึ?!! ครับ นับประมาณๆเอา เพราะทางขึ้นช่วงนี้ แทบไม่มีทางลงเลย(มีบ้างล่ะ แต่ไม่เป็นนัยะ) ทีนี้ดูระยะทางนะครับ 10 km ...

สูงและชัน 102 Elevation gain

จาก สูงและชัน 101 เราคุยกันเรื่อง ความสูง และความชันเบื้องต้นกันไปแล้ว คราวนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่อง.... Elevation gain ความสูงสะสมรวมของทั้งเรซ มาดูกัน ว่า"สะสม"กันแบบไหน ดูภาพกันเลย รายการวิ่ง ปาโจเทรล(นามสมมุติ) ระยะ 40 กิโลเมตร ยอดเขายอดที่สูงที่สุด สูง 1500 เมตร เทียบกับจุดสตาร์ท เรซนี้นี้ มีค่าเกน 2000 เมตรครับ นับยังไง? ภูเขาลูกแรก  ไต่ขึ้นสูง 1000 เมตร  ไต่ถึงยอดแล้ว ทดไว้ในใจ ^^ ตอน down hill  ระวังดีๆ อย่าสะดุดรากไม้ เดี๋ยวไอที่ทดไว้หาย ขึ้นลูกที่สอง ไต่ขึ้นอีก 1000 เมตร เอามารวมกับที่ทดไว้ในใจ 1000+1000 ครับ นับแต่เฉพาะความสูงที่เราต้องไต่ขึ้น มารวมๆกัน ความสูงที่สะสมทั้งหมด รวมกันได้ 2000 เมตร ด้วยวิธีคิดแบบนี้ เราจึงเรียกว่า Elevation gain ความสูงสะสม สรุปแบบพูดสั้นๆ ไทยสไตล์ ปาโจเทรล 40k gain 2000 m คราวนี้มาดูอีกเรซ ทรายขาวเทรล(นามสมมุติเช่นกัน ^^) ทรายขาวเทรล 40k เช่นกัน ดูออกไหมครับ ว่า เกน เท่าไร ขึ้นเขา 4 ครั้ง ครั้งละ 500 เมตร ครับ!!! ทรายขาวเทรล 40k   เกน ก็ 2000 เมตรเช่นกัน ...

สูงและชัน 101

มีเวลาว่างมาก เพราะไม่ได้เล่น fb แล้ว :p ขอจัดเต็มกะไอเรื่องนี้สักที  เอาให้จบๆไป นอกจากนักวิ่งสายเทรล  ผมเชื่อว่ามีประโยชน์กับเด็กที่กำลังเรียนเลขด้วย ม่ะ  ถ้าว่าง ก็ตามมา อ้อ เลเวล ระดับเริ่มต้นนะครับ  แบบพื้นฐานกันสุดๆ ดูภาพนะครับ ณ เทือกเขา ABC  ที่มีจุดสูงสุด ทียอด B ขอตั้งชื่อดีกว่า  ณ เทือกเขาบูโด การข้ามเขา จาก จุดA ไปถึง จุดC  โดยการปีนขึ้นยอด แล้วไหลลง gps บนนาฬิกาเรา จะบอกว่า เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร  มันจับระยะตามแนวตรงจาก a ถึง c เลย แม้จริงๆเราจะขึ้นไปตามแนวเอียง และลงมาตามแนวราบ ซึ่งเห็นอยู่ชัดๆ ว่า ไม่น่าใช่ 60 กิโลเมตร ต้องมากกว่าแน่ๆ แต่ นาฬิกาเรา มันจะยืนยันว่า 60 เอ้า งี้วิ่งจริง ก็ไกลกว่าที่ gps บอกสิ?!! แหงครับ  แน่นอนครับ ชัวร์ เรื่องแรกที่ต้องรู้เลย..คือ เวลาวิ่งเทรลขึ้นเขา  เราจะวิ่ง"ไกลกว่า"ระยะที่นาฬิกาบนข้อมือบอกเรา แต่  อย่าตกใจครับ เราไม่รู้หรอก 55 นาฬิกามันบอกก็เชื่อๆมันไปเถอะ ^^ จริงๆ ที่บอกว่าอย่าตกใจ เพระ ความคลาดเคลื่อนมันนิดเดียวครับ รายการเทรลในเมืองไทย...